ประวัติการค้นพบและการสำรวจ
ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง
และมีดาวเคราะห์เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย
ต่อการดำรงชีวิต
มีดาวเคราะห์ 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า
เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ตอนนี้ไม่มีพลูโตแล้ว เหลือแค่ 8 ดวง และ ยังมีดวงจันทร์บริวารของ
ดวงเคราะห์แต่ละดวง ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร
ดาวเคราะห์น้อยดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง
ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร นอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ
ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ
ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูดเป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ
ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน
ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ90,000,000,000,000,000,000,000,000
แคลอรีต่อวินาที
เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม
ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์
จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์
จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายล้านปี

